ufabet

ก่อนจะเป็น “โรงละครแห่งความฝัน” ในปัจจุบัน

โอลด์ แทรฟฟอร์ด

เมื่อพูดถึงสนามฟุตบอลที่ใหญ่เบอร์ต้นๆ บนเกาะอังกฤษ และมีสถาปัตยกรรมทางสเตเดี้ยม แฟนบอลหลายคนคงรู้กันดี และนึกถึง โอลด์ แทรฟฟอร์ด (old trafford) เป็นอันดับแรกๆ แต่คุณรู้ไหมว่าสนามอันเกรียงไกรแห่งนี้ผ่านเรื่องราว และอุปสรรคอะไรมาบ้าง วันนี้ lnwmanu จึงจะพาคุณย้อนไปพบกับประวัติอันยาวนานกว่า 1 ศตวรรษ ของโรงละครแห่งความฝัน หรือในชื่อภาษาอังกฤษที่แฟนบอลทั่วโลกรู้จักกันดี Theatre of Dream

เมื่อ 1 ศตวรรษก่อน ณ เมืองอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งบนประเทศอังกฤษ มีสโมสรฟุตบอลเล็กๆ ที่มีชื่อว่า นิวตัน ฮีธ โดยทีมเล็กๆ แห่งนี้ ได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลลีกในปี 1982 โดยมีสนามเหย้าของสโมสรชื่อว่า นอร์ท โร้ด ในมอนซอลล์ แต่ทว่าสภาพสนามนั้นมีแต่โคลน แถมสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับนักฟุตบอลยังอยู่ห่างไกลถึงครึ่งไมล์ ประธานสโมสรในยุคนั้นอย่าง จอห์น เฮนรี่ เดวี่ส์ จึงตัดสินใจย้ายสนามใหม่ไปที่ แบงค์ สตรีท ในย่านเคลย์ตัน ที่อยู่ไม่ห่างไกลมากนัก

แต่การย้ายมาที่สนาม แบงค์ สตรีท ดูเหมือนพื้นสนามจะย่ำแน่ไม่แตกแตกต่างกับตอนอยู่ที่สนาม นอร์ท โร้ด เท่าไหร่ แถมยังไม่สามารถขยายพื้นที่สนามได้อีก โดยเกมสุดท้ายในสนามแห่งนี้คือเกมที่ยูไนเต็ดเอาชนะ ท็อตแน่ม ฮ็อทสเปอร์ ไปได้ 5–0 ก่อน จอห์น เฮนรี่ เดวี่ส์ จะตัดสินใจอีกครั้งยอมควักเงินจำนวน 60,000 ปอนด์ เพื่อซื้อที่ดินแถว แทรฟฟอร์ด พาร์ค โดยพื้นที่นั้นอยู่แถวย่านช่านเมือง 5-6 ไมล์ทีเดียว

สโมสรเริ่มก่อตั้งสนามในปี ค.ศ. 1909 โดยใช้ชื่อสนามแห่งนี้ว่า โอลด์ แทรฟฟอร์ด และต่อมาสนามแห่งนี้ก็ถูกสร้างจนเสร็จในปี ค.ศ.1910 สามารถจุผู้ชมได้สูงถึง 80,000 คน โดยการเปิดประตูรับแฟนบอลครั้งแรกของสนามแห่งนี้ เป็นการพบกับคู่รักคู่แค้นอย่าง ลิเวอร์พูล โดยในนัดนั้นพวกเค้าพ่ายแพ้ไปฉิวเฉียดด้วยสกอร์ 4-3 จึงทำให้การเปิดใช้งานครั้งแรกเป็นสิ่งที่ไม่น่าจดจำซักเท่าไหร่สำหรับแฟนบอล

ในช่วงแรกผู้ชมส่วนมากต้องยืนดูเกมการแข่งขัน แต่ก็ถือเป็นสนามแข่งที่ให้ความสะดวกสบายแฝงด้วยความหรูหรา โดยไม่มีสนามแห่งใดในยุคนั้นเทียบเท่าได้ ไม่ว่าจะในเรื่อง เก้าอี้พับเก็บได้ มีห้องเล่นเกม มีโรงยิม มีห้องจิบน้ำชา คนคอยบริการชี้ทางพาไปหาที่นั่ง แถมยังมีอ่างอาบน้ำขนาดยักษ์สำหรับนักฟุตเตะ

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โอลด์ แทรฟฟอร์ด ต้องพังทลายลงด้วยด้วยน้ำมือของกองทัพนาซี ที่มาทิ้งระเบิดใกล้กับนิคมอุสาหกรรมแทรฟฟอร์ด พาร์ค ซึ่งระเบิดหลายลูกตกลงที่สนาม โอลด์ แทรฟฟอร์ด ทำให้อัฒจันทร์ สแตนด์ เมน ถูกทำลายย่อยยับ ไม่เว้นพื้นสนามก็ยังได้รับความเสียหายหนัก ทำให้ โอลด์ แทรฟฟอร์ด ที่เปิดรองรับผู้ชมมากว่า 30 ปี ต้องห่างหายจากศึกลูกหนังไปเกือบ 1 ทศวรรษเลยทีเดียว

หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางรัฐบาลอังกฤษ ได้มอบเงินให้กับสโมสรจำนวน 22,278 ปอนด์ เพื่อบูรณะสนามขึ้นใหม่ ระหว่างนั้นเองทีมปีศาจแดง ก็ต้องย้ายไปเล่นที่ เมน โร้ด สนามเหย้าของทีม แมนเชสเตอร์ ซิตี้ นานถึง 4 ปี

แผนของสโมสรในการบูรณะสนามใหม่คือ ต้องการสนามที่สามารถรองรับผู้ชมจำนวน 120,000 คนให้ได้ แต่ท้ายที่สุดแล้ว พวกเขาไม่มีงบประมาณที่เพียงพอจะก่อสร้างได้ จึงทำได้เพียงแค่สร้าง เมน สแตนด์ ขึ้นใหม่แทนที่ของเดิมที่ถูกทำลาย

ในวันที่ 24 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1949 ทีมปีศาจแดงได้กลับมายังถิ่นของพวกเขาอีกครั้ง ท่ามกลางฝูงชนกว่า 41,000 คน และสามารถเอาชนะ โบลตัน วันเดอเรอร์ส ได้ในเกมนัดแรกของรอบ 10 ปีที่กลับมาเล่น ณ สนามแห่งนี้

ในปี ค.ศ. 1957 โรงละครแห่งความฝัน เริ่มสว่างไสวบนเวทีลูกหนังยุโรป เมื่อแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ได้สิทธิเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลยุโรป และทีมแรกจากยุโรปที่มาเล่นภายใต้ไฟสนามใหม่ชั้นยอดที่นี่ คือ จ้าวยุโรปเรอัล มาดริด

แฟนบอลรุ่นเก๋าคงยังจำได้ดีกับนักเตะชุด บัสบี้ เบบส์ และความรู้สึกที่เปียกปอนไปด้วยเม็ดฝนพร้อมๆ กับนักเตะในสนาม เพราะอัฒจันทร์ สเตรตฟอร์ด เอนด์ ชื่อดัง ไม่มีแม้หลังคาไว้บังแดดบังฝน จนกระทั้งใน ปี ค.ศ. 1959 สนามโอลด์ แทรฟฟอร์ด ถูกปรับปรุงอีกครั้งให้มีทันสมัยมากขึ้น

ในช่วงยุค 60 อัฒจันทร์แบบแคนติลิเวอร์ (ต้นกำเนิดของอัฒจันทร์ในปัจจุบันที่ไม่ต้องใช้เสาค้ำยันให้บังทัศนียภาพในเกมการแข่งขัน) ถูกเปิดใช้ใน ปี ค.ศ. 1964 ด้วยงบประมาณในก่อสร้าง จำนวน 350,000 ปอนด์

ต่อมาในปี ค.ศ 1992 ประเพณีการยืนเชียร์เกมการแข่งขันฝั่ง สเตรตฟอร์ด เอนด์ ต้องมาถึงจุดสิ้นสุดลง เมื่อมันถูกบูรณะใหม่ และแทนที่ด้วยเก้าอี้นั่ง จนกระทั่งใน ปี ค.ศ. 1994 สนาม โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด ก็กลายเป็นสนามที่นั่งทั้งหมดครั้งแรกในประวัติศาสตร์ แต่ความจุสำหรับแฟนบอลกลับลดลง 43,000 ที่นั่ง ทำให้ความจุไม่เพียงพอต่อแฟนบอลที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ

เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหานี้ อัฒจันทร์ ฝั่ง นอร์ท สแตนด์ จึงถูกปรับปรุงใหม่ในฤดูกาล 1995/96 ถึงตอนนั้นความจุของสนามเท่ากับ 56,387 ที่นั่ง แต่ในยุคนั้นมีแฟนบอลจำนวนหนึ่ง ไม่พอใจเกี่ยวกับสแตนด์ใหม่ของสนาม เพราะมีความสูงถึง 48 เมตร

แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด มีสนามใหญ่ที่สุดในประเทศอังกฤษ กับค่าใช้จ่ายที่เสียไปทั้งสิ้น 28 ล้านปอนด์ โดยองค์กรควบคุมเกมฟุตบอลของยุโรป หรือยูฟ่า เรียกสนาม โอล์ด แทรฟฟอร์ด ว่าเป็นสนามที่ดีที่สุดในอังกฤษ และใช้รองรับเกมการแข่งขันฟุตบอลยูโร 96 ถึง 5 นัด เลยทีเดียว

แต่ด้วยความสำเร็จในช่วงทศวรรษที่ 90 จำนวนแฟนบอลที่ต้องการเข้าชมเกมมีเพิ่มมากขึ้นอีก ปลายฤดูกาล 1999/2000 อัฒจันทร์ฝั่ง อีสต์ สแตนด์ จึงต้องถูกปรับปรุงใหม่จนสามารถเพิ่มความจุผู้ชมเป็น 61,000 ที่นั่ง

หลังจากนั้นต้นฤดูกาล 2000/01 อัฒจันทร์ฝั่ง สเตรตฟอร์ด เอนด์ ก็ได้ถูกปรับปรุงใหม่เช่นกันโดยเพิ่มที่นั่งเป็น 2 ชั้น จนกระทั่งปัจจุบันความจุของสนามสุทธิคือ 68,217 ที่นั่ง มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาสโมสรฟุตบอลทั้งหมดในเกาะอังกฤษ

แผนการขยายความจุผู้ชมของสนาม โอล์ด แทรฟฟอร์ด ในอนาคตคือ 90,000 ที่นั่ง ที่มุมสนามทั้ง 2 มุม ของอัฒจันทร์ โดยที่อัฒจันทร์ฝั่ง เซาธ์ สแตนด์ นั้นจะขยายความจุไปได้ยากที่สุดเพราะอยู่ใกล้กับทางรถไฟ ซึ่งเคยมีผู้เสนอให้ขยายโดยสร้างอัฒจันทร์ชั้นที่ 3 คร่อมทางรถไฟ ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีทางวิศวกรรมสมัยใหม่ และมีค่าใช่จ่ายที่สูงมาก

ปัจจุบัน โอล์ด แทรฟฟอร์ด เป็นสนามที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของอังกฤษ ในแง่ของจำนวนแฟนบอลที่รองรับได้ ซึ่งมากถึง 76,212 คน เป็นรองแค่สนามกีฬาเวมบลีย์เพียงแห่งเดียว และใหญ่เป็นอันดับ 9 ของทวีปยุโรป นอกจากนั้นยังเป็นสนามในอังกฤษที่ยูฟ่ารับรองเป็นสนาม 5 ดาว

โดย โอล์ด แทรฟฟอร์ด มักจะถูกใช้เป็นสนามในการแข่งขันเอฟเอ คัพ รอบรองชนะเลิศ และเป็นสนามหลักในการแข่งขันฟุตบอลรายการใหญ่ๆ ในช่วงที่สนามกีฬาเวมบลีย์อยู่ในระหว่างการปรับปรุง นอกจากนี้ยังได้เป็นสนามแข่งขันนัดสำคัญหลายอย่าง ไม่ว่าฟุตบอลโลก รายการแชมเปียนส์ลีก และยังถูกใช้แข่งขันฟุตบอลในมหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน


ชื่อ โรงละครแห่งความฝัน ที่แฟนบอลคุ้นหู และผู้คนต่างพากันเรียก รู้ไหมคนแรกที่เรียกชื่อนี้คือ เซอร์ บ็อบบี้ ชาร์ลตัน ตำนานของสโมสร แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด นั่นเอง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น